วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หมาตักน้ำ



                       โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น (หมาตักน้ำ)




บทคัดย่อ

         หมาตักน้ำ เป็นของใช้อย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับตักน้ำ จากห้วย หนอง คลอง สระ
ในการทำหมาตักน้ำนั้น ชาวบ้านทางใต้นิยมทำ" หมาจาก" มากกว่าชนิดอื่น ๆ
         คำว่า "หมา" นี้ บางทีก็เรียก ติหมา หรือ ตีหมา ผู้รู้กล่าวว่าไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นคำที่มาจากภาษามลายู คือคำว่า Timba ซึ่งหมายถึงภาชนะตักน้ำที่ทำจากใบจาก หรือ กาบ
         หมา ติหมา ตีหมา เป็นภาชนะตักน้ำอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ ทำด้วยกาบหรือใบของพืชตระกูลปาล์มที่หาได้ในท้องถิ่น การเรียกชื่อบางครั้งจึงมีชื่อของพืชที่นำมาเป็นวัสดุทำต่อท้ายด้วย เช่น
-ถ้าทำจากใบจากก็เรียกว่า"หมาจาก"
-ถ้าทำจากต้อหมาก (กาบหมาก) ก็เรียกว่า "หมาต้อ"
-ถ้าทำจากกาบเหลาชะโอนก็เรียกว่า "หมาต้อหลาวโอน" (หรือ "หมาต้อ" เช่นเดียวกัน)
แต่บางคนก็ใช้คำว่า "หมา" "ติหมา" หรือ "หมาตักน้ำ" รวม ๆ กันไปโดยไม่คำนึงถึงวัสดุที่ใช้ทำในท้องถิ่นบางแห่ง
          จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้คำว่า "หมา" ในความหมายที่กว้างออกไป หมายถึงภาชนะตักน้ำปัจจุบันเรียกภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี อะลูมิเนียม หรือเหล็กว่า "หมาถัง" หรือ "หมาถั้ง" ที่ทำด้วยพลาสติกก็เรียกว่า "หมาพลาสติก" อันเป็นการรักษาชื่อเต็มที่ขึ้นต้นด้วย "หมา" เอาไว้
           ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีภาชนะตักน้ำที่ทำทั้งกาบหมาก  กาบต้นหลาวโอนและใบของต้นจากแต่ไม่ได้ทำด้วยสิ่งเหล่านี้ในทุกท้องที่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับในท้องที่นั้นจะมีสิ่งใดที่ใช้ทำ  ปัจจุบันนี้แม้ภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี (ซึ่งเรียกว่าถัง)   หรือพลาสติกจะเข้าไปแทนที่หมากตักน้ำที่ชาวนครใช้มาแต่โบราณมากขึ้น   แต่หมาตักน้ำก็ยังคงมีใช้กันอยู่ในครัวเรือนไม่น้อย  โดยเฉพาะ 'หมาจากซึ่งเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำปากพนัง  อำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร  อันเป็นบริเวณที่มีต้นจากขึ้นอยู่ชุกชุม
             การทำหมาตักน้ำด้วยใบจาก   เริ่มด้วยตัดเอายอดจากซึ่งเป็นยอดอ่อนที่รวมกันแน่นไม่แตกออกเป็นใบ  มาจัดเอาแต่ใบ  นำใบไปตากแดดพอหมาด ๆ  แล้วนำไปสอด   การสอดหมาจากต้องคลี่ใบออกข้างหนึ่งแล้วสอดต่อกันกลับหัวกลับหางไปเรื่อย ๆ  จนได้ขนาดตามที่ต้องการจึงรวบหัวรวบท้ายเข้าประสนกันม้วนกลม  แล้วใช้ก้านใบจากผูกฝึกไว้  ก็ได้หมาจากตามต้องการ   และถ้าจะให้สวยงามและทนทานก็ใช้หวายหรือคล้าแทง  เย็บรอยต่อระหว่างใบจากแต่ละใบเพื่อกันไม่ให้หลุดได้ง่ายด้วย

บทที่ 1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก และเศรษฐกิจของไทยก็เป็นไปตามกระแสทุนนิยม ส่งผลทำให้วิถีชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป  พร้อมกับส่งผลทำให้เยาวชนไทยไม่ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทย  ขาดจิตสำนึกความเป็นไทย
โครงการภูมิปัญญาไทยภาคใต้จึงเป็นแนวทาง/ทางเลือกให้กับคนในชุมชนทางด้านการนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ และครั้งนี้ก็ได้ทำโครงงาน เรื่องหมาตักน้ำภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งเป็นความรู้ความสามารถของชาวบ้าน ที่มีการปรับตัวและนำวัสดุใกล้ตัวมาประดิษฐ์ออกมาเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อใช้สอย  ในที่นี้คือการนำกาบของต้นหมากมาประดิษฐ์เป็นภาชนะตักน้ำเรียกว่า หมาตักน้ำ” ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สั่งสมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย เกิดจากประสบการณ์ หรือการสะสมความรู้ ลองผิด ลองถูก มาหลายยุคหลายสมัย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นแนวทาง/ทางเลือกให้กับคนในชุมชนทางด้านการการนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการดำรงชีวิต

2.เพื่อให้คนในชุมชนและเยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญา เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในความเป็นไทย


หลักการและทฤษฎี

          หมาตักน้ำเป็นเครื่องใช้ของชาวบ้านภาคใต้แทบทุกจังหวัด ส่วนใหญ่ทำจากกาบหมาก ที่เรียกว่า ต้อ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงเรียกว่า หมาต้อ
  
          การทำหมาตักน้ำ จากกาบหมากเริ่มด้วยการนำกาบหมากที่มีขนาดพอเหมาะ ตัดส่วนล่างที่เป็นใบออก ถ้ากาบหมากแห้งเกินไปต้องนำไปแช่น้ำให้นิ่มก่อน ม้วนปลายของกาบหมากทั้งสองด้านให้กลม ด้านหนึ่งใหญ่อีกด้านหนึ่งเล็ก พับทั้งสองด้านขึ้น ใช้ปลายกาบด้านเล็กสอดเข้าไปในรูของด้านใหญ่ แล้วใช้หวายหรือเชือกที่คงทนผูกยึดไว้


ขอบเขตของโครงงาน

1.ศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต

2.ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือที่ห้องสมุด


สถานที่

          วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช   ต.ท่าเรือ  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.บุคคลทั่วไปในชุมชนมีแนวทาง/ทางเลือกด้านการการนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการดำรงชีวิต

2.บุคคลทั่วไปในชุมชนและเยาวชนไทยตระหนักตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญา  เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในความเป็นไทย



                                                                           บทที่ 2
                                                                เอกสารที่เกี่ยวข้อง 

 ประวัติความเป็นมาของ หมาตักน้ำ

                หมาตักน้ำ เป็นของใช้อย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับตักน้ำ จากห้วย หนอง คลอง สระ ในการทำหมาตักน้ำนั้น ชาวบ้านทางใต้นิยมทำ" หมาจาก" มากกว่าชนิดอื่น ๆ 
                คำว่า "หมา" นี้ บางทีก็เรียก ติหมา หรือ ตีหมา ผู้รู้กล่าวว่าไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นคำที่มาจากภาษามลายู คือคำว่า Timba ซึ่งหมายถึงภาชนะตักน้ำ ที่ทำจากใบจาก หรือ กาบ หมา ติหมา ตีหมา เป็นภาชนะตักน้ำอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ ทำด้วยกาบหรือใบของพืชตระกูลปาล์มที่หาได้ในท้องถิ่น การเรียกชื่อบางครั้งจึงมีชื่อของพืชที่นำมาเป็นวัสดุทำต่อท้ายด้วย เช่น
-ถ้าทำจากใบจากก็เรียกว่า"หมาจาก"
-ถ้าทำจากต้อหมาก (กาบหมาก) ก็เรียกว่า "หมาต้อ"
-ถ้าทำจากกาบเหลาชะโอนก็เรียกว่า "หมาต้อหลาวโอน" (หรือ "หมาต้อ" เช่นเดียวกัน)
แต่บางคนก็ใช้คำว่า "หมา" "ติหมา" หรือ "หมาตักน้ำ" รวม ๆ กันไปโดยไม่คำนึงถึงวัสดุที่ใช้ทำในท้องถิ่นบางแห่ง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้คำว่า "หมา" ในความหมายที่กว้างออกไป หมายถึงภาชนะตักน้ำ             ปัจจุบันเรียกภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี อะลูมิเนียม หรือเหล็กว่า "หมาถัง" หรือ "หมาถั้ง" ที่ทำด้วยพลาสติกก็เรียกว่า "หมาพลาสติก" อันเป็นการรักษาชื่อเต็มที่ขึ้นต้นด้วย "หมา" เอาไว้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีภาชนะตักน้ำที่ทำทั้งกาบหมาก  กาบต้นหลาวโอนและใบของต้นจากแต่ไม่ได้ทำด้วยสิ่งเหล่านี้ในทุกท้องที่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับในท้องที่นั้นจะมีสิ่งใดที่ใช้ทำ  ปัจจุบันนี้แม้ภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี (ซึ่งเรียกว่าถัง)   หรือพลาสติกจะเข้าไปแทนที่หมากตักน้ำที่ชาวนครใช้มาแต่โบราณมากขึ้น   แต่หมาตักน้ำก็ยังคงมีใช้กันอยู่ในครัวเรือนไม่น้อย  โดยเฉพาะ 'หมาจาก'  ซึ่งเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำปากพนัง  อำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร  อันเป็นบริเวณที่มีต้นจากขึ้นอยู่ชุกชุมการทำหมาตักน้ำด้วยใบจาก   เริ่มด้วยตัดเอายอดจากซึ่งเป็นยอดอ่อนที่รวมกันแน่นไม่แตกออกเป็นใบ  มาจัดเอาแต่ใบ  นำใบไปตากแดดพอหมาด ๆ  แล้วนำไปสอด   การสอดหมาจากต้องคลี่ใบออกข้างหนึ่งแล้วสอดต่อกันกลับหัวกลับหางไปเรื่อย ๆ  จนได้ขนาดตามที่ต้องการจึงรวบหัวรวบท้ายเข้าประสนกันม้วนกลม  แล้วใช้ก้านใบจากผูกฝึดไว้  ก็ได้หมาจากตามต้องการ  และถ้าจะให้สวยงามและทนทานก็ใช้หวายหรือคล้าแทง เย็บรอยต่อระหว่างใบจากแต่ละใบเพื่อกันไม่ให้หลุดได้ง่ายด้วย          หมาจากนอกจากจะใช้ตักน้ำแล้วยังใช้วิดน้ำในเรือ  ตักน้ำผึ้งจากกะทะ  ตักน้ำล้างหน้า  ล้างเท้า  ใช้เก็บสิ่งของต่าง ๆ  นับได้ว่าหมาจากเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง   ยิ่งไปกว่านั้นหมาจากยังกลายเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ชาวต่างถิ่นนำไปใช้เป็นภาชนะใส่ของหรือใช้ปลูกต้นไม้ประดับแขวนซึ่งมีความแปลกตาไปอีกรูปแบบหนึ่ง


       ชนิดของหมา

          1. ชนิดตามลักษณะของการผูกปลายของตัวหมาให้เป็นที่ถือคือ "หมาโผ้" (โผ้ - ตัวผู้) หมายถึง 

หมาที่เอาปลายทั้ง 2 มาผูกไขว้กัน 


          2."หมาเหมีย"(เหมีย - ตัวเมีย) หมายถึงหมาที่เอาปลายทั้ง 2 ข้างมาสอดผูกแนบกัน


            ประโยชน์ของหมา

        นอกจากทำด้วยวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นภาคใต้ และราคาไม่แพงแล้ว ยังเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการใช้อีกหลายประการ เช่นมีน้ำหนักเบา มีที่ยึดถือหรือสำหรับผูก และสามารถตะแคงหรือคว่ำตัวได้เองเพียงแต่วางบนผิวน้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของการคิดที่สัมพันธ์กับการใช้ของชาวบ้าน หมาจึงเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ตักน้ำในบ่อ ในสระ หรือในพัง ซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องออกแรงกระตุกเหมือนการใช้ภาชนะสมัยใหม่อื่น ๆ นอกจากนั้นชาวบ้านยังใช้หมาในทางอื่น ๆ อีก เช่น ใช้วิดน้ำเรือ ตลอดจนใช้ตักน้ำอย่างเช่นภาชนะตักน้ำอื่น ๆ ทั่วไปด้วยหมาเป็นเครื่องใช้ตักน้ำที่ทดแทนการใช้ขันน้ำพลาสติก หรือขันน้ำจากวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ โดยทำง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะวัสดุได้มาจากธรรมชาติและช่วยอนุรักสิ่งแวดล้อมด้วย


บทที่ 3

                                                                            วิธีการดำเนินงาน

          วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

            การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้

                1ขั้นศึกษาข้อมูล
1.1  ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาจากเอกสารหรืออินเตอร์เน็ตที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาไทย หมาตักน้ำ

                           1.2  ศึกษาวัสดุ อุปกรณ์และวิธีทำ หมาตักน้ำ จากสื่ออินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญา หมาตักน้ำ
2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการได้ศึกษาค้นคว้าและนำมาบูรนาการ

3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง
                       
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ

1.กาบหมาก /ยอดจาก
2.หวายหรือเชือก
3.ไม้ไผ่


                                                                                      บทที่  4
                                                                                ผลการศึกษา

       ขั้นตอนการทำหมาตักน้ำ

            หมาตักน้ำที่ทำมาจาก “ จาก ”
1. ตัดเอายอดจาก โดยใช้ยอดอ่อนของใบจากที่ใบยังรวมกันแน่นไม่แตกออก ตัดออกมาเป็นใบ ๆ




         2. นำยอดจากที่ได้คัดเลือกมาตัดเอาใบที่เห็นว่ามีขนาดที่จะนำมาทำหมาจากได้   
  

                                                                                     
          3. ตัดโคนและปลายใบทิ้ง แล้วนำไปตากแดดให้พอหมาดๆ เพื่อให้สอดได้สะดวก




4. นำใบมาสอด การสอดต้องคลี่ใบออกข้างหนึ่งแล้วสอดให้แต่ละข้างใบสลับโคน-ปลาย ไปเรื่อยๆเพื่อให้ปลายทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากัน






5. เมื่อสอดได้ตามขนาดที่ต้องการ ก็รวบปลายทั้งสองข้างเข้าหากัน เพื่อใช้เป็นที่จับ





6.เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้




หมาตักน้ำที่ทำมาจาก “ หมากต้อ(กาบหมาก) ”

               1. เลือกกาบหมากสุก ซึ่งเป็นกาบที่ไม่อ่อนและไม่แห้งเกินไป ความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร พร้อมกับเตรียมไม้ไผ่เพื่อไว้รับน้ำหนักตรงส่วนด้ามของหมาตักน้ำ




                                                            
            2.พับปลายกาบทั้งสองข้าง และผูกติดกันหรือใช้ไม้กลัดเพื่อทำเป็นที่จับเวลาตักน้ำและเย็บส่วนกลางของด้ามจับให้เป็นแนวตรงเพื่อช่วยพยุงในการรับน้ำหนัก และใช้หวายหรือเชือกมาผูกที่ด้ามให้แน่น



3.เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้




                                                                                            บทที่  5

                                                                     สรุป อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่องหมาตักน้ำ ผู้จัดทำได้วิจัยเพื่อมาศึกษาประวัติ วิธีการทำและวิธีการใช้ ทำให้ได้รู้ถึงรูปแบบวิธีการทำ และการใช้ชีวิตที่พอเพียงอย่างสร้างสรรค์แล้วยังเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป
              จากการศึกษาพบว่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีภาชนะตัดน้ำที่ทำทั้งกาบหมาก  กาบต้นหลาวโอนและใบของต้นจากแต่ไม่ได้ทำด้วยสิ่งเหล่านี้ในทุกท้องที่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับในท้องที่นั้นจะมีสิ่งใดที่ใช้ทำ  ปัจจุบันนี้แม้ภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี (ซึ่งเรียกว่าถัง)   หรือพลาสติกจะเข้าไปแทนที่หมากตักน้ำที่ชาวนครใช้มาแต่โบราณมากขึ้น   แต่หมาตักน้ำก็ยังคงมีใช้กันอยู่ในครัวเรือนไม่น้อย  โดยเฉพาะ หมาจาก ซึ่งเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำปากพนัง  อำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร  อันเป็นบริเวณที่มีต้นจากขึ้นอยู่ชุกชุม
  


ประโยชน์ที่ได้รับ


1. ทราบถึงประวัติและวิธีการทำหมาตักน้ำภูมิปัญญาของชาวภาคใต้
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

3. ได้มีความรู้และยอมรับในความคิดสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ

4.สามารถนำความรู้นี้มาเป็นตัวอย่างในการปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

5.บุคคลทั่วไปในชุมชนและเยาวชนไทยตระหนักตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญา เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทยและภูมิใจในความเป็นไทย



ข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง หมาตักน้ำเพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อ  อนุรักษ์  และสืบสานต่อไป

1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ หรือเยาวชนเพื่อนำไปพัฒนาความคิดของเยาวชนสมัยใหม่ ให้รู้จักใช้ความคิดบวกกับการหันกลับมามองวัสดุในท้องถิ่น แล้วสร้างสรรค์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ตามที่บรรพบุรุษได้ทำต่อๆกันมา

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                                       
                                                                                      นายชิตพล    ดวงสุวรรณ

                                                                                      นางสาวปวันรัตน์   พรหมทอง